วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

IMC OF ZALORA THAILAND


ZALORA THAILAND



ศูนย์รวมแฟชั่นออนไลน์และไลฟ์สไตล์แบบครบครัน ที่จะทำให้คุณได้เข้าถึงเทรนด์แฟชั่นระดับโลก  พร้อมนำเสนอเคล็ดลับความงาม คำแนะนำเกี่ยวกับแฟชั่น การแต่งกายให้เข้ากับบุคลิก การเลือกสินค้าแฟชั่นที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์และความเป็นตัวตนของคุณ อีกทั้งยังมีทีมงานที่เชี่ยวชาญทางด้านแฟชั่นคอยให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่ลูกค้า เพื่อเพิ่มความสะดวกและความมั่นใจในการเลือกซื้อสินค้าอีกด้วย ร้านค้าออนไลน์ ZALORA Thailand ถูกออกแบบให้ดูสบายตาและง่ายต่อการใช้งาน หากคุณเข้าชมเว็บไซต์ครั้งแรก และกำลังมองหาสินค้าที่ถูกใจ คุณจะได้รับการแนะนำให้รู้จักร้านค้าออนไลน์อย่างละเอียดทุกขั้นตอน เพื่อที่คุณสามารถเลือกซื้อสินค้าได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว เมื่อคุณเลือกซื้อสินค้าที่คุณต้องการแล้ว คุณสามารถเลือกชำระเงินได้ 3 ช่องทางด้วยกัน ช่องทางแรก คุณสามารถชำระเงินด้วยบริการชำระเงินปลายทาง คุณสามารถชำระเงินกับพนักงานส่งของเมื่อรับสินค้าได้ในทันที หรือจะเลือกชำระเงินด้วย Credit Card และ Paypal ผ่านทางระบบออนไลน์ที่คุณมั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับความปลอดภัยที่สุด และมีการดำเนินการจัดส่งสินค้าตั้งแต่วันที่คุณสั่งซื้อสินค้า

สร้างความเชื่อมั่น คือ ส่วนสำคัญของธุรกิจออนไลน์
  ZALORA Thailand เว็บไซต์ E-commerce ให้ความสำคัญกับการสร้างระบบบริหารและการขนส่งอย่างเป็นระบบ ด้วยการตั้ง Warehouse ในการเก็บสินค้า ระบบขนส่งภายในของบริษัท และการพัฒนาทีมส่งเพื่อการขนส่ง จนกระทั่งกรุงเทพมหานครเป็น 1 ใน 5 เมือง ร่วมกับ Ho Chi Minh City, Jakarta,  Singapore และ Manila ที่สามารถส่งสินค้าในผู้สั่งสินค้าผ่านหน้าเว็บหรือ แอปพลิเคชั่นก่อนเที่ยงวันจะได้รับสินค้าเพียงใน 1 วัน   และด้วยความแข็งแรงของระบบการจัดส่งทำให้ ZALORA จึงได้เปรียบคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นบริการคืนค่าธรรมเนียมภายใน 30 วัน การบริการขนส่งที่รวดเร็วบริการจัดส่งฟรีเมื่อสั่งซื้อถึงยอดที่กำหนด การชำระเงินหลากหลายรูปแบบรวมถึงบริการเก็บเงินปลายทาง ทั้งในปี 2014 ZALORA ร่วมกับ 7-Eleven ในการรับคืนสินค้าที่สั่งซื้อไป แบบไม่มีค่าใช้จ่ายได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมไปถึงการร่วมมือกับคู่ค้าในการให้ส่วนลดจากสิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่ลูกค้าของบริษัทคู่ค้า อาทิ DTAC, True AIS ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ ฯลฯ ทำยังมอบคะแนนสะสมร่วมกับ บัตร Rabbit, The One Card และบางกอกแอร์เวย์ เมื่อสั่งซื้อสินค้าจากทาง ZALORA   นอกจากพันธมิตรคู่ค้าแล้ว ZALORA ยังมีความสัมพันธ์ที่มีต่อดีไซเนอร์ชาวไทยและส่งเสริมวงการแฟชั่นไทย โดยปี 2014 ZALORA ยังรวบรวมดีไซเนอร์ชื่อดังของไทย 12 แบรนด์ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นในตัว ZALORA และกล้าที่จะสั่งสินค้าออนไลน์ 




ภาพรวมธุรกิจ ZALORA ประเทศไทย
ปี ค.ศ. 2012 ร็อกเกต อินเตอร์เน็ต ก็ได้ทำการเปิดตัว ZALORA Thailand ให้นักช้อปสามารถช้อปปิงผ่านทางเว็บไซต์ Zalora.co.th ซึ่งประเทศไทยเป็นเป้าหมายสำคัญของการรุกตลาดเอเชีย ด้วยปัจจัยของจำนวนประชากร และพัฒนาการของวงการแฟชั่นไทยที่ล้ำหน้าประเทศอื่นๆ รวมไปถึงศักยภาพในการบริโภคแฟชั่นของคนไทยที่สูงกว่าชาติอื่นในแถบเอเชีย อีกทั้งในประเทศไทยยังไม่มีผู้นำตลาดช้อปปิงออนไลน์ที่ชัดเจน นี่จึงเป็นปัจจัยของการรุกตลาดในเอเชียในครั้งนี้ ทั้งนี้จุดเด่นของ ZALORA  คือ ความหลากหลายของสินค้าที่ครอบคลุมสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่นทุกชนิดสำหรับทุกเพศทุกวัย โดยมีสินค้าในกลุ่มเสื้อผ้า เครื่องประดับ และแอ็กเซสเซอรี่ต่างๆ รวมถึงเสื้อผ้าชุดกีฬา และผลิตภัณฑ์ความงาม อีกทั้งยังมีความหลากหลายของแบรนด์ตั้งแต่ระดับไฮเอ็นอินเตอร์แบรนด์และแบรนด์ดังในประเทศนั้นๆ ซึ่งสำหรับในประเทศไทยในขณะนี้มีแบรนด์ที่จัดจำหน่ายใน ZALORA มากกว่า 500 แบรนด์และ ZALORA ใช้วิธีการจัดจำหน่ายสินค้าแบบ E-commerce คือการดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพราะปัจจุบันคนไทยชอบสัมผัสสินค้าจริงก่อนตัดสินใจซื้อ ความสะดวกของ E-commerce จึงสามารถตอบโจทย์ผู้ที่ไม่มีเวลาออกไปซื้อสินค้าด้วยตัวเอง โดยในปี 2013 ZALORA Thailand ประกาศความสำเร็จ โดยครองอันดับหนึ่งแฟชั่นช้อปปิงออนไลน์ของเอเชีย ด้วยยอดสั่งซื้อสินค้าเฉลี่ยถึง 1,000 ชิ้นต่อวัน หรือกว่า 200,000 ออร์เดอร์ต่อปี รวมมีลูกค้าที่ซื้อสินค้าผ่าน ZALORA Thailand กว่า 50,000 ราย การเติบโตของ ZALORA Thailand จึงประสบความสำเร็จ คิดเป็นอัตราการเติบโตสูงกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน โดยเครื่องมือสำคัญที่สร้างการรับรู้ของ ZALORA คือปรากฎการณ์การรับรู้ผ่าน Social Media ด้วยจำนวนการรับรู้มหาศาล ผ่านเครื่องมือการตลาดอย่าง Facebook ,Instagram, Twitter และ Official Line Account
 ปี ค.ศ. 2016 กลุ่มเซ็นทรัล ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยการรุกเข้าซื้อกิจการ Zalora ประเทศไทย ผู้นำแฟชั่นใน  E-commerce แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างเต็มตัว การครอบครองกิจการครั้งนี้  จะช่วยกระตุ้นภาพรวมของธุรกิจออนไลน์และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้คึกคัก เพิ่มช่องทางการค้าให้กับผู้ผลิตทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ หรือแม้แต่ธุรกิจเอสเอ็มอีไทย เพื่อเป็นการต่อยอดทางธุรกิจให้กับคู่ค้าได้อย่างครบวงจรทั้งออฟไลน์และออนไลน์ สอดคล้องกับแนวคิดประชารัฐที่ต้องการส่งเสริมธุรกิจในทุกระดับ การเข้าซื้อกิจการซาโลร่าของกลุ่มเซ็นทรัลครั้งนี้ เนื่องจากเล็งเห็นถึงความแข็งแกร่งของซาโลร่า ซึ่งเป็นออนไลน์แฟชั่นยอดนิยมอันดับ 1 ของภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นในช่วงปลายปี 2555 มีกลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ หนุ่มสาวออฟฟิศ หรือผู้ที่ชื่นชอบแฟชั่น  มีจุดแข็งในด้านการเป็นศูนย์รวมของแฟชั่นแบรนด์ไทยและแบรนด์ดังระดับโลกที่อัพเดทเทรนด์อยู่เสมอ หลากหลายด้วยสินค้าและไอเทมต่างๆ ที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับ, เสื้อผ้า, รองเท้า, กระเป๋า, เครื่องสำอาง หรือแม้แต่สินค้าแฟชั่นเด็ก รวมแล้วกว่า 80,000 รายการ 


การโฆษณา (Advertising)
โฆษณาทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 23.15 – 00.15 น. ผ่านทางทีวีซีรีย์ Gossip Girl Thailand ตลอดระยะเวลาการออกอากาศระหว่างวันที่ 1 กันยายน  ถึง 29 ตุลาคม 2558 มีการเปิด TV Commercial ทั้งหมด 24 ครั้ง รวมระยะเวลาการเผยแพร่ TV Commercial ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เป็นเวลา 200 วินาที โดยแต่ละครั้งจะมีการเปิด TV Commercial 15 วินาที 1 ครั้ง ระหว่างการรอเข้าทีวีซีรีย์ และมีการโฆษณาสั้นๆ ก่อนเข้าเนื้อเรื่อง  5 วินาที 2 ครั้ง

ภาพตัวอย่างจาก โฆษณา TV

 Youtube
 TV Commercial ที่อยู่ใน Youtube ของ Kantana  Group Channel มีการเผยแพร่ TV Commercial ใน Youtube ของ Kantana Group Channel นับตั้งแต่วันที่  1 กันยายน – 31 ตุลาคม 2558 เป็นจำนวน 32 ครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งมีระยะเวลาเผยแพร่ 5 วินาที รวมทั้งหมดเป็น 160 วินาที ใน Channel บน Youtube นี้
ภาพตัวอย่าง



Google Plus
มีจำนวนผู้ติดตามทั้งหมด 1,971 คน และจำนวนผู้เข้าชม Google Plus ของ ZALORA Thailand ทั้งหมดนับตั้งแต่วันเริ่มก่อตั้งเพจจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2558 มีจำนวนการเข้าชมทั้งหมด 490,827 ครั้ง มีจำนวนข้อความที่โพสต์ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน-31 ตุลาคม 2558 ทั้งหมด 5 ครั้ง


Facebook ของ ZALORA Thailand

                             


 ภาพตัวอย่าง Instagram ของ ZALORA


                                     


ภาพตัวอย่างจาก Twitter






การให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ (Publicity and public relation)

Banner ตามเว็บไซต์ Youtube , Tuneln Radio Application และ What Sale Application
Banner ของ ZALORA Thailand จะขึ้นตามด้านข้างของเว็บไซต์ Youtube และ What Sale Application บางช่วงเวลา ส่วน    Tuneln Radio Application มี Banner ขึ้นตลอดเวลา ซึ่งเป็นการใช้ระบบ Affiliate Program เป็นระบบที่สร้างรายได้จากการเป็นตัวแทนแนะนำสินค้า

ภาพตัวอย่าง



  ขึ้นระหว่างฟังเพลงและเลือกเพลงในแอพพลิเคชัน Tuneln Radio                                                                                  
                       
 ในแอพพลิเคชั่น WhatSale



ZALORA Thailand  ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนให้กับ Facebook
เมื่อเลื่อน Feed บนหน้า Facebook จะพบกับ ZALORA ในฐานะผู้สนับสนุน ซึ่งเนื้อหาจะประกอบไปด้วยสินค้า ราคาสินค้า 
และปุ่มกดเพื่อลิงค์ไปสู่เพจการซื้อสินค้าทางแอพพลิเคชั่นของ ZALORA



บน Line ของ Dtac Reward และ Samsung Galaxy Gift
วันที่ 25 กันยายน 2558 เวลา 12.21 น. มีการแจ้งเตือนของ Dtac Reward Line ซึ่งทาง ZALORA ได้เข้าร่วมกับ Dtac ในการมอบส่วนลดให้กับลูกค้าของ Dtac และ ZALORA Thailand ร่วมมือกับ Samsung ให้สามารถShopping 
บนแอพพลิเคชั่น GALAXY Gift ได้ พร้อมส่วนลดอื่นๆ มากมาย



ZALORA ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีวีซีรีย์ Gossip Girl Thailand 



Zalora จัดแคมเปญ  GET PINK สมทบทุนช่วยผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 


 มูลนิธิรามาธิบดีฯ ร่วมกับ นิตยสาร โว๊ค ไทยแลนด์




Zalora  มอบทุนสนับสนุนนักศึกษา




ตัวอย่างการประชาสัมพันธ์ของ ZALORA  ผ่านทาง Facebook





การส่งเสริมการขาย (Sales promotion)

Zalora ได้ทำการดึงลูกค้าใหม่ และ การรักษาลูกค้าเก่าไว้ การที่จะดึงลูกค้าให้มาซื้อสินค้านั้นจะต้องลดอัตราเสี่ยงจากการใช้สินค้าใหม่ให้กับผู้บริโภค การลด แลก แจก แถม เป็นวิธีหนึ่งที่จะลดความเสี่ยงได้ เป็นสิ่งที่จะเอาชนะความเฉื่อยชาของการคิดเปลี่ยนแปลง 
นอกจากนี้สื่อที่ใช้ของซาโลร่ามีทั้งสื่อออนไลน์และโฆษณาทางทีวีแต่จะให้ความสำคัญกับสื่อออนไลน์มากกว่า เพราะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายทุกระดับและสามารถกระตุ้นและดึงดูดความสามารถของผู้บริโภคได้ง่ายด้วย 

ภาพตัวอย่างจาก facebook และ website

     



ข้อจำกัด/ข้อเสียด้านโปรโมชั่น(Promotion)
  1. มีการโฆษณาด้านโปรโมชั่นต่างๆที่ไม่ครอบคลุม ที่เห็นได้ชัดจะเป็นการโฆษณาผ่านเว็บไซต์เท่านั้น แต่ในการโฆษณา TVC และสื่อสิ่งพิมพ์เป็นส่วนน้อยมาก ทำให้เป็นข้อจำกัดของผู้บริโภคที่ไม่ได้ใช้อินเตอร์เน็ตไม่สามารถเข้าถึงโปรโมชั่นนั้นได้
  2. มีความเสี่ยงที่ผู้บริโภคจะได้รับการบริการที่ไม่ดีจากพนักงานที่จัดทำคอลเซ็นเตอร์ เฟซบุคเพจ จึงควรมีการคัดกรองบุคลากรที่มีประสิทธิภาพมาให้บริการ 
  3. บางครั้งมีการโปรโมท ด้านการติดแบนเนอร์หน้าเว็บอื่นๆที่มากเกินไป ทำให้เกิดความรำคาญแก่ผู้บริโภค จนทำให้ผู้บริโภคเกิดความคิดแง่ลบกับตัวแบรนด์ได้




การขายโดยใช้พนักงาน (Personal selling)
 เนื่องจาก ZALORA เป็นการขายของผ่านสื่ออนไลน์ ซาโลร่าได้มีระบบ Affiliate Program เป็นระบบที่สร้างรายได้จากการเป็นตัวแทนแนะนำสินค้า เช่นแอพพลิเคชั่นบางตัวหรือเว็บไซต์ที่เข้าร่วมระบบนี้กับทางซาโลร่าก็จะมีแบนเนอร์แนะนำซาโลร่า พร้อมมอบรหัสส่วนลดให้และเมื่อเกิดการซื้อสินค้า ผู้เข้าร่วมระบบจะได้รับค่าคอมมิชชั่นจากการซื้อด้วย เป็นกลยุทธ์ในรูปแบบ Word of Mouth โดยให้ผลตอบแทนค่าแนะนำที่ 25% ซึ่งเป็นอีกช่องทางที่ทำให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกสบายจากการเข้าถึง และเป็นอีกจุดหนึ่งที่เพิ่มยอดขายให้กับซาโลร่า ตัวอย่างเช่นแบนเนอร์ซาโลร่าในเว็บไซต์ยูทูป แบนเนอร์ซาโลร่าในแอพพลิเคชั่นบางตัว ถ้าเกิดมีลูกค้าคลิกที่แบนเนอร์นั้นและมีการสั่งซื้อทางแอพพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์ที่เข้าร่วม Affiliate Program กับซาโลร่าก็จะได้ค่าตอบแทน 25% จากยอดการซื้อนั้น 



แต่ในปี ค.ศ. 2016 กลุ่มเซ็นทรัล ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยการรุกเข้าซื้อกิจการ Zalora ประเทศไทย ผู้นำแฟชั่นใน  E-commerce แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
อย่างเต็มตัว ทำให้ในเร็วๆนี้  Zalora จะมีหน้าร้านเป็นของตนเอง




การตลาดทางตรง (Direct marketing) 

บริษัทซาโลร่า ใช้วิธีการจัดจำหน่ายสินค้าแบบ E-commerce คือการดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพราะความสะดวกของอีคอมเมิร์ชจึงสามารถตอบโจทย์ผู้ที่ไม่มีเวลาออกไปซื้อสินค้าด้วยตัวเอง จึงเน้นไปที่การสื่อสารทางตรงกับผู้บริโภค 





ข้อเสนอแนะของกลุ่ม ที่มีต่อการทำการสื่อสารการตลาดของ ZALORA Thailand
  • ปัจจุบันมีสื่อ TVC แค่ช่วงเวลาเดียวและช่องเดียวคือทางช่อง 3 ทุกวันพฤหัส 
หลังเวลา 23:10-00:15 น. เท่านั้น ควรจะเผยแพร่ในเวลาที่ไม่ดึกจนเกินไป และควรมีการเผยแพร่หลากหลายเวลามากกว่านี้ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย ได้รู้จักแบรนด์มากขึ้น
  • ควรลงโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์มากกว่านี้และควรลงอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้ เช่น สื่อนิตยสารแฟชั่น เช่น VOGUE NYLON CHEEZE ดิฉัน เป็นต้น
  • ร่วมมือกับแบรนด์หลากหลายแบรนด์ หลากหลายสัญชาติ ในการออกคอลเลคชั่นเสื้อผ้าในราคาแบบซาโลร่า เพื่อทำให้เกิดความแปลกใหม่และเป็นการเปิดตลาดและกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ
  • เป็นผู้สนับสนุนด้านกีฬา เช่น ฟุตบอลไทย เพื่อโปรโมทสินค้ากีฬาในแบรนด์
  • จัดโครงการที่ทำเพื่อสังคมสม่ำเสมอและเพิ่มโครงการใหม่ที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคม เช่น
  • โครงการบริจาคเสื้อผ้า รองเท้า หรือกระเป๋าที่ไม่ได้ใช้แล้ว มาช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลน 
  • โครงการบริจาคเสื้อชั้นในสภาพดี ส่งมอบให้แก่ผู้ต้องขังหญิงในฑัณฑสถานของกรมราชทัณฑ์ทั่วประเทศ
  • โครงการจัดแฟชั่นโชว์สำหรับเด็กจากสถานสงเคราะห์ โดยจัดเสื้อผ้าสวยงามให้เด็กๆ มาเดินแบบโชว์ และจัดทำการบริจาคสมทบทุนการศึกษาให้เด็กทุกคนในสถานสงเคราะห์นั้น นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือเด็กและส่งเสริมให้เยาวชนมีการศึกษานั้น ยังเป็นการโปรโมทคอลเลคชั่นเสื้อผ้าเด็กจาก ZALORA Thailand ได้ด้วย“โครงการเหล่านี้ล้วนสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตัวแบรนด์และยังเป็นการทำให้ผู้บริโภครู้จักแบรนด์อีกด้วย”


https://www.zalora.co.th












  




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น