วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

Starbucks Canvas




Starbucks Canvas





1.Customer Segments
  • อายุ 25-50 ปี
  • คนที่มีรายได้ 40,000 บาทขึ้นไป
  • มีรสนิยมในการดื่มกาแฟ
  • มีรสนิยมในการเลือกสินค้าที่ทำให้ภาพลักษณ์ของตนเองดูดีขึ้น

2. Value Propositions
  • ความหลากหลายของรายการอาหารและเครื่องดื่ม
  • ความยืดหยุ่นในการสั่งเครื่องดื่ม
  • จำนวนและตำแหน่งที่ตั้ง
  • คุณภาพและประสิทธิภาพของเมล็ดกาแฟ

3. Customer Relationships
  • ทดลองชิมสินค้าใหม่โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • บัตรสมาชิก My Starbucks Rewards
  • ปลูกฝังStarbucks Partners
  • ทำ CSR โดยจัดกิจกรรมอาสาเพื่อร่วมฉลอง “เดือนแห่งการช่วยเหลือสังคม”
  • มุ่งมั่นให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมบริเวณแหล่งปลูกกาแฟ พร้อมทั้งชาวไร่กาแฟและครอบครัวชาวไร่กาแฟชาวไทยภูเขาทางภาคเหนือภายใต้ชื่อ “กาแฟม่วนใจ๋ เบลนด์” 
  • มูลนิธิ Starbucks 
  • มีใจรักในการบริการ 

4. Channels
  • มีสาขาทั่วประเทศ และตั้งอยู่ในทำเลที่สังเกตเห็นได้ง่าย การตกแต่งร้านแต่ละสาขามีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน
  • Website 
  • E-mail
  • Social media - Facebook , Instagram , Twitter 
  • Application 
  • Call center 

5. Revenue Streams
  • เครื่องดื่ม
  • อาหาร
  • สินค้าที่ระลึก
  • ค่าสิทธิแฟรนไชส์

6. Key Partner
  • กาแฟม่วนใจ๋ เบลนด์
  • น้ำดื่ม avian
  • เจ้าของพื้นที่
  • ผู้ขายอุปกรณ์
  • ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ
  • บริษัทประกันภัย

7. Key Activities
  • จัดหาวัตถุดิบ
  • คิดสูตรเมนูใหม่ๆ
  • ควบคุมปริมาณคาเฟอีน
  • กระจายสินค้าไปยังสาขา
  • งานบริการดูแลลูกค้า
  • ออกแบบและจำหน่ายสินค้าที่ระลึก

8.Key Resources 
  • ครัวกลางและซัพพลายเชน - การรับเมล็ดกาแฟอาราบิก้าจากแหล่งต่างๆ
  • ฝึกอบรมทรัพยากรบุคคล - Starbacks partners
  • วิธีการชงและสูตรกาแฟที่คิดค้นขึ้นมาเอง

9.  Cost Structure
  • ค่าเช่าพื้นที่
  • วัตถุดิบและอุปกรณ์
  • ค่าตกแต่งภายในร้าน
  • ค่าใช้จ่ายพนักงาน
  • ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
  • ค่าวิจัยและตรวจสอบ
  • ค่าสาธารณูปโภค
  • ค่ากระจายสินค้า
  • ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษา

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

Starbucks


Starbucks


แต่เดิมเป็นร้านๆ หนึ่งในตลาดประวัติศาสตร์ Pike Place ของเมืองซีแอตเทิล จากเพียงหน้าร้านเล็กๆ ติดถนน สตาร์บัคส์ให้บริการแค่เมล็ดกาแฟคั่วใหม่สดคุณภาพเยี่ยมของโลกเพียงบางชนิด และชื่อนั้นได้แรงบันดาลใจจากนวนิยายเรื่อง Moby Dick ชวนให้นึกถึงความโรแมนติกของท้องทะเลและวิถีประเพณีการเดินเรือของผู้ค้ากาแฟยุคแรกๆ
ในปี 1981 มร. โฮวาร์ด ชูลท์ส (ประธานกรรมการ ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสตาร์บัคส์) เดินเข้ามาสั่งกาแฟในร้านสตาร์บัคส์เป็นครั้งแรก หลังจากดื่ม Sumatra ถ้วยหนึ่งแล้ว มร. โฮวาร์ดก็รู้สึกประทับใจสตาร์บัคส์ และเข้าร่วมธุรกิจด้วยหนึ่งปีหลังจากนั้น
ถัดมาในปี 1983 มร. โฮวาร์ดเดินทางไปอิตาลี และประทับใจบรรยากาศร้านกาแฟสไตล์อิตาลีและความโรแมนติกในการดื่มกาแฟที่นั้น ทำให้เกิดวิสัยทัศน์ที่จะนำรูปแบบร้านกาแฟดั้งเดิมของอิตาลีกลับไปยังสหรัฐอเมริกาด้วย วิสัยทัศน์ที่ว่า "ร้านกาแฟคือสถานที่สำหรับการสนทนา ให้ความรู้สึกของความเป็นชุมชน เป็นอีกสังคมหนึ่งนอกเหนือจากบ้านและที่ทำงาน" เขาออกจากสตาร์บัคส์ช่วงสั้นๆ เพื่อเริ่มกิจการร้านกาแฟ Il Giornale ของตัวเอง และในเดือนสิงหาคมปี 1987 ได้ซื้อสตาร์บัคส์ด้วยความช่วยเหลือจากนักลงทุนท้องถิ่น
สตาร์บัคส์กำหนดรูปแบบกิจการของตัวเองให้แตกต่างจากบริษัทอื่นแล้วตั้งแต่แรก รูปแบบที่ไม่ได้มีเพียงจุดเด่นอยู่ที่กาแฟและวิถีประเพณีดั้งเดิมเท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งความรู้สึกผูกพันอีกด้วย


การโฆษณา (Advertising)

Starbucks บน Twitter
วิธีที่ Starbucks เข้าถึงลูกค้าบน Twitter คือ แน่นอนว่าจะต้องเป็นการส่งข่าวสารและกิจกรรมให้กับลูกค้าอย่างแน่นอน  แต่สิ่งที่ Starbucks เพิ่มเติมในกลยุทธ์และมีจุดยืนมากๆ คือ การตอบโต้ พูดคุย ด้วยการตั้งคำถาม ตอบคำถามกับลูกค้า และ Retweet ในสิ่งที่ลูกค้าพูดถึงแบรนด์ และเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกมีส่วนร่วมกับแบรนด์ตลอดเวลา


Starbucks Facebook Fan Page
สำหรับ Starbucks ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มีลูกค้ารักและหลงใหลมากอยู่แล้ว แต่ Starbucks ก็ไม่ได้เลือกที่จะนิ่งเฉยโดยไม่ต้องทำอะไร   แต่ Starbucks ใช้ Fan Page อย่างมีประโยชน์ และสร้างความผูกพันธ์อย่างต่อเนื่องกับลูกค้า  Fan Page ของ Starbuck จึงค่อนข้าง active กับเนื้อหาที่น่าสนใจ และข่าวสารของ Starbucks เอง   เครื่องมือที่ใช้มีทั้ง Wall, Video, Photo, Notes, Events และ Discussion   ทำให้ลูกค้าที่อยากคุยกับแบรนด์ และติดต่อกับแบรนด์ได้เมื่อเขาต้องการ และStarbucks ก็ได้อัพเดทข่าวสารตลอดเวลาถึงโปรโมชั่นและเมนูใหม่ที่มี พร้อมความคิดเห็นจากลูกค้าในทันทีเช่นกัน
-
Starbucks บน YouTube
Starbucks มีจำนวน Subscribers 110,359 คน บน Channel ของ Youtube    ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง Social medida ที่ Starbucks ใช้อัพโหลดและแชร์ภาพยนตร์โฆษณาทุกชิ้นของ Starbucks และเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับกาแฟ งานอีเว้นท์การกุศลที่ทางแบรนด์จัดขึ้น ประวัติต่างๆ และที่มาของร้าน Starbucks
อีกหนึ่งกลยุทธ์ของ Starbucks ก็คือ ความใจกว้าง”   ที่จะอนุญาติให้ใครก็ได้นำวิดีโอของ Starbucks ไปแชร์ และ embed ที่เว็บไซต์ไหนก็ได้   ซึ่งหลายๆ แบรนด์จะรู้สึกกังวลที่วิดีโอของแบรนด์อาจจะไปปรากฏในที่ที่ๆม่เหมาะสม และไม่อนุญาติให้ embed    ซึ่งStarbucks ไม่ได้คิดเช่นนั้น แต่กลับคิดว่าการที่วิดีโอถูกแชร์มากขึ้นเท่าไหร่   ก็จะหมายถึงการเข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากขึ้นเท่านั้น และทั้ง Starbucks และ Dell เองก็ประสบความสำเร็จกับกลุยุทธ์นี้มาแล้ว

My Starbucks Idea
My Starbucks Idea ถูกสร้างขึ้นมาเสมือนเป็น Starbucks Social Network แห่งหนึ่ง  ที่ที่ Starbucks สร้างขึ้นเพื่อให้ลูกค้าเข้ามาแสดงและบอกถึงไอเดียต่างๆ ที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์ สินค้า และเมนูของ Starbucks   ทุกๆ ไอเดียที่ส่งมาก็ไม่ได้ถูกเก็บเอาไว้ดูกันเองในทีมงาน แต่เปิดให้กับลูกค้าบนเว็บไซต์ได้ดูเช่นเดียวกัน   นอกจากนั้นยังสามารถ Vote และ Comment ได้ด้วย    Starbucks จะนำไอเดียที่มีคน Vote มากที่สุดมาพิจารณาและปรับปรุงสินค้าให้ดีขึ้น    My Starbucks Idea ให้ประโยชน์กับ Starbucks มากมาย ทั้งการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า  การติดต่อสื่อสาร จำนวนสมาชิกและ profile ของลูกค้า  และไอเดียจากลูกค้าโดยตรง ซึ่งมีมูลค่ามหาศาลไม่น้อยสำหรับ Starbucks  ทำให้เว็บไซต์แห่งนี้ เป็น Branded Social Media เยี่ยมยอด และเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับแบรนด์อื่นอย่างมาก
-
Starbucks “Ideas in Action”
“Ideas in Action” เป็นเว็บบล็อคของ Starbucks    แต่ที่นี่ไม่ใช่ Blog Site ธรรมดาๆ ทั่วไป ที่มี CEO หรือเจ้าหน้าที่ของแบรนด์สินค้าเข้ามาเขียนอัพเดทเรื่องราวของบริษัท แบรนด์ หรือผลิตภัณฑ์เท่านั้น     แต่ Starbucks ใช้ Blog แห่งนี้   ในการสื่อสารและต่อยอดจาก “My Starbucks Ideas”  ด้วยการให้พนักงานของ Starbukcs เข้ามาเขียน และแชร์เรื่องราวจาก Inside Out  และบอกความคืบหน้าเกี่ยวกับไอเดียที่ Starbucks ได้รับจากลูกค้า และนำมาใช้จริงกับสินค้าและบริการของ Starbucks
ซึ่งแน่นอนว่า ลูกค้าคงต้องการรู้ว่าไอเดียของตนได้เป็นส่วนหนึ่งของ Starbucks!  และต้องอยากติดตามผลงานของตัวเองอย่างแน่นอน และทั้งหมดนี้ ก็คือการสร้าง Brand Loyalty ในแบบ Long Term Relationship ได้อย่างสมบูรณ์
กลยุทธ์ Social Media Plan ของ Starbucks โดยรวมแล้ว ได้ถูกวางแผนมาอย่างรอบคอบ  ด้วยการนำ Social network ทุก Site มาเชื่อมต่อกัน และสร้างขึ้นภายใต้ Concept และ Direction เดียวกัน  จึงไม่แปลกใจที่ Starbucks จะครองใจลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก

My Starbucks Rewards
ที่จะมอบสิทธิพิเศษมากขึ้นผ่านสตาร์บัคส์การ์ด ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้สตาร์บัคส์การ์ดราว 600,000 ใบทั่วประเทศไทย ทั้งนี้สิทธิพิเศษของโปรแกรม มาย สตาร์บัคส์ รีวอร์ดส์ แบ่งเป็น 3 ระดับได้แก่ Welcome, Green และ Gold ที่เมื่อลูกค้าใช้จ่ายผ่านสตาร์บัคส์ การ์ด ในร้านสตาร์บัคส์ ทุกสาขา ทุกการใช้จ่าย 100 บาทเท่ากับดาว 1 ดวง หากสะสมดาวได้ครบตามจำนวนที่แต่ละระดับกำหนดจะได้รับการเลื่อนสู่ระดับต่อไปทันทีซึ่งแต่ละระดับมาพร้อมสิทธิพิเศษที่เพิ่มตามขึ้นไปด้วย อาทิ รับเครื่องดื่มฟรี เมื่อซื้อครบ 12 แก้ว

การส่งเสริมการขาย (Sales promotion)






Touchpoint

หากคุณได้เข้าไปดื่ม Starbucks บ่อยๆกาแฟหกในร้านถือกันเป็นเรื่องปกติ แต่คำถามคือเมื่อมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในร้าน พนักงาน Starbucks ทำอย่างไรพนักงานจะรีบชงกาแฟแก้วใหม่ให้กับคุณ และจะช่วยดูแลไม่ให้คุณตื่นตระหนกกับเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วยเช่นกันคุณจะได้กาแฟแก้วใหม่โดยไม่เสียเงิน และถึงแม้ว่าคุณพยายามจะจ่ายเงินใหม่ พนักงานก็จะไม่ยอมหรือแม้กระทั่งเรื่องง่ายๆ เช่นก ารสั่งผิด สั่งร้อนหรือเย็นแล้วพนักงานนำมาให้ผิด  พนักงานก็จะรีบทำกาแฟแก้วใหม่มาให้คุณทันที ด้วยความเต็มใจเช่นกันต่างจากร้านอื่น ถ้าคุณทำกาแฟหก คุณแทบไม่มีโอกาสได้กาแฟแก้วใหม่เลย แต่นี่คุณสามารถได้กาแฟแก้วใหม่โดยไม่เสียเงินเพราะความจริงแล้ว Starbucks ไม่ได้ขายกาแฟ สิ่งที่ Starbucks ขายนั้นจริงๆก็คือ ประสบการณ์ดีๆที่คุณจะได้รับในการดื่มกาแฟ Starbucks เชื่อว่า กาแฟ 1 แก้วที่คุณได้จากร้านต้อง สมบูรณ์ 100% และ สามารถนั่งดื่มในร้านได้นานขนาดไหนก็ได้ ไม่แปลกใจเลยใช่ไหมครับ ที่ทำไม คนถึงเลือกเดินเข้าร้าน Starbucks มากกว่าร้านกาแฟราคาที่ถูกกว่า Starbucks ไม่ได้ขายแค่กาแฟ แต่ขาย ประสบการณ์ในการดื่มกาแฟ

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

IMC สัปดาห์ที่ 5 SAMSUNG

Image result for samsung logo


SAMSUNG

SAMSUNG เป็นชื่อกลุ่มบริษัทแห่งหนึ่งจากประเทศเกาหลีใต้ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่โซล, ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งประกอบด้วยบริษัทย่อยจำนวนมาก และธุรกิจที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่อยู่ภายใต้แบรนด์ซัมซุง และเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้
ซัมซุงได้ก่อตั้งโดย ลี เบียงชอล ในปีพ.ศ. 2493 ในช่วงแรกของการทำธุรกิจนั้นได้เน้น ไปที่การส่งออกสินค้า, แปรรูปอาหาร, สิ่งทอ ซัมซุงเริ่มเข้ามาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ในปลายปี พ.ศ. 2503 หลังจากการจากไปของประธานผู้ก่อตั้ง ลี เบียงชอล ทำให้ซัมซุงได้แยกกลุ่มธุรกิจออกเป็น 4 กลุ่ม คือ Samsung Group, Shinsegae Group, CJ Group และ Hansol Group และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มา ซัมซุงได้เป็นที่รู้จักเป็นสากลมากขึ้นจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของบริษัทในปัจจุบัน



THE BEST SELLER 

SMARTPHONE
ซัมซุงนับว่าเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผลิตโทรศัพท์มือถือทั้งรุ่นปกติและแบบสมาร์ทโฟน ออกมาจำหน่ายหลากหลายรุ่น โดยมีส่วนแบ่งการตลาดระดับโลกอยู่ในอันดับต้น ๆ และมีรุ่น Flagship ที่เปิดตัวทุกปี ภายใต้ชื่อ Galaxy Note และ Galaxy S โดยในรุ่น Note จะมีปากกาที่เรียกว่า S Pen เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียน วาด บนหน้าจอ ในขณะที่รุ่น S จะเน้นการผลิตโดยใช้สเปคเครื่องที่สูงกว่ารุ่นอื่น ๆ ทั้งหมดที่ผลิตออกมา ทั้งรุ่น Note และ S นับเป็นคู่แข่งสำคัญของ iPhone ที่ผลิตโดย Apple Inc.


SMARTWATCH

ซัมซุงได้ออก Smartwatch ที่ใช้ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาเองรุ่นแรกในชื่อ Samsung Gear และหลังจากนั้นได้ทยอยออกรุ่นต่าง ๆ ตามมา เช่น Gear 2, Gear 2 Neo ที่คล้าย Gear 2 แต่ตัดฟังก์ชั่นกล้องออกไป, Gear Fit ที่เน้นสำหรับใส่ออกกำลังกาย Gear S ที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานโทรศัพท์ได้ในตัว จนล่าสุดเมื่อปี 2558 ได้ออกรุ่น Gear S2 และ Gear S2 Classic ที่ได้ปรับการใช้งานโดยสามารถหมุนหน้าจอเป็นวงกลมได้ ทำให้การใช้งานคล่องตัวมากกว่าเดิมและได้รับคำชมจากการสร้างวิธีการใช้งานที่แตกต่างจากยี่ห้ออื่นและสามารถทำให้ประสบการณ์การใช้งาน Smartwatch ดีขึ้นกว่าเดิม

Target group
ซัมซุงมีการแบ่งโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่มที่มีความต้องการแตกต่างกันไป เช่น
-กลุ่มผู้ที่ชื่นชอบแฟชั่น
-กลุ่มเทคโนโลยี
-กลุ่มที่ใช้งานในเชิงธุรกิจ


กลยุทธการสื่อสารทางการตลาดของ "SAMSUNG"

กลยุทธ์หลักของซัมซุง คือ การลอกเลียนจากต้นแบบแล้วมาพัฒนาให้เป็นของตน สังเกตได้จากข่าวที่มีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Apple  ที่ได้ทำการฟ้องร้องว่าซัมซุงละเมิดสิทธิบัตรของตน โดยเมื่อแอปเปิลเปิดตัว iPhone ครั้งแรก ซัมซุงได้นำคุณสมบัติของ iPhone มาเปรียบเทียบกับมือถือที่วางจำหน่ายอยู่ของตัวเองอย่างละเอียดถึงขั้นฟีเจอร์ต่อฟีเจอร์ และสุดท้ายซัมซุงก็พบว่า 126 ฟีเจอร์ของ iPhone เหนือกว่ามือถือของซัมซุง ณ​ เวลานั้น จนสุดท้ายก็เกิดมือถือตระกูล Galaxy S ขึ้น
ทั้งนี้ซัมซุงยังได้เตรียมกลยุทธ์ใหม่ นั่นคือ นวัตกรรมโปรดักส์ใหม่จำนวน 20 รุ่น ทั้งสมาร์ทโฟน และฟีเจอร์โฟน เจาะตลาดทุกเซกเมนต์ ซึ่งปัจจุบันซัมซุงมี 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ ตลาดคนเมืองหลวง และตลาดต่างจังหวัด ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนมูลค่าประมาณกลุ่มละ 50 เปอร์เซ็นต์ ควบคู่ไปกับ กลยุทธ์การพัฒนาช่องทางจำหน่ายให้ตอบโจทย์ลูกค้า โดยเน้นลงทุนปรับปรุงร้านจำหน่ายมือถือซัมซุงในเครือข่ายให้ลูกค้าสามารถเข้าไปศึกษาว่าสมาร์ทโฟนคืออะไร และสร้างประสบการณ์โดยตรงกับมือถือทั้งสมาร์ทโฟนและฟีเจอร์โฟน กว่า 300 - 400 ร้านค้า ซึ่งได้ล่วงหน้าดำเนินการไปแล้ว โดยจะส่งผลดีต่อการขายสินค้าในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ปัจจุบันโปรดักส์มือถือของซัมซุงตอบความต้องการตั้งแต่กลุ่มเอนทรี (Entry) กลุ่มมิทเทียร์ (Mid-Tier) และกลุ่มพรีเมียม (Premium) โดยเฉพาะกลุ่มเอนทรี และมิดเทียร์ เป็นกลุ่มที่ซัมซุงจะเน้นทำตลาดเพิ่มขึ้น

กลยุทธ์ต่อมา คือ การลดราคาอุปกรณ์มาแข่งขันเพื่อดึงลูกค้าในตลาดกลับคืน การตัดสินใจวางกลยุทธ์ราคาขายสมาร์ทโฟนระดับล่างให้ต่ำลงของซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ นับเป็นการเดิมพันเพื่อหวังเอาชนะคู่แข่งทั้งในท้องถิ่นและบริษัทข้ามชาติที่นำสมาร์ทโฟนเข้าไปทำตลาดในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่สำคัญๆ อย่าง เซี่ยวหมี่ คอร์ป ผู้ผลิตสัญชาติจีน ที่เปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมาพร้อมกับโพรเซสเซอร์ที่ใช้กับสมาร์ทโฟนระดับบนของซัมซุงแต่จำหน่ายในราคาเพียง 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 8,800 บาท) หรือแม้แต่แอปเปิลที่ก้าวเข้ามาแข่งขันด้วยไอโฟนรุ่นล่าสุดที่ตั้งราคาไว้ 399 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 14,000 บาท)
อีกทั้งยังมีปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้ซัมซุงสมาร์ทโฟนประสบความสำเร็จอย่างล้มหลามในช่วงแรก นั่นคือ กลยุทธ์พัฒนา Research&Development หรือด้านการค้นคว้าวิจัย (R&D) และการศึกษาถึงความต้องการของผู้บริโภค (Consumer Insight) ที่ช่วยให้ซัมซุงเข้าใจและสามารถตอบรับความต้องการได้อย่างตรงจุด
นอกจากนี้ กลยุทธ์พันธมิตร ในการส่งเสริมการตลาดและการขาย โดยซัมซุงร่วมมือกับโอเปอเรเตอร์ 3 รายใหญ่ ทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในประเทศไทยได้อย่างครอบคลุม พร้อมทั้งโปรโมชั่นพิเศษสุดจากโอเปอเรเตอร์แต่ละค่าย รวมถึงการสร้างกระแสความแรงของซัมซุงสมาร์ทโฟนในกลุ่มผู้นำความคิดในสังคมและสังคมออนไลน์ ซึ่งเราได้เห็น ชมพู่ อารยา เอฮาร์เก็ต เป็นพรีเซนเตอร์หลักของซัมซุงในหลายผลิตภัณฑ์แล้วในช่วงปีที่ผ่านมา นอกจากนี้บริเวณจุดขายของซัมซุงยังได้รับการออกแบบและตกแต่งอย่างพิถีพิถันเพื่อให้ผู้บริโภคได้สัมผัสประสบการณ์จากสมาร์ทโฟนซัมซุงได้อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งมีการฝึกอบรมพนักงานเพื่อคอยให้คำแนะนำและตอบข้อซักถามของผู้บริโภค

การโฆษณา การส่งเสริมการขาย และประชาสัมพันธ์

 ทางซัมซุงได้มีการลงโฆษณาผ่านช่องทางสื่อทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อมีเดีย สื่อออนไลน์ ฯลฯ


  •  Facebook เป็นช่องทางอัพเดพข้อมูลข่าวสารที่สำคัญของซัมซุงโมบาย และช่องทางการติดต่อสอบถามปัญหาต่างๆ นอกจากนี้ยังมีแคมเปญ กิจกรรมให้ร่วมสนุกอย่างต่อเนื่อง



  • Youtube สื่อวิดิโอจะอัพโหลดลงที่นี้ เพื่อทำการเผยแพร่ไปยังสื่อออนไลน์อื่น ๆ โดยจะใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ เช่น ชมพู่ อาร์ยา สแตมป์ แอน ทองประสม เต๋อ ฉันทวิทช์ เป็นต้น  ซึ่งนอกจากนี้ยังมีวิดีโอจากบุคคลทั่วไปที่ทำการรีวิวให้กับ Samsung อาจเป็นการส่งเครื่องให้ทดลองใช้ หรือแม้แต่การรีวิวที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริงของผู้ใช้


  • รีวิวตามเว็บไซต์ เช่น 








  • Instagram



  • เป็นผู้สนับสนุนผ่านซีรีย์ยอดฮิต







  • สื่อสิ่งพิมพ์ตามสถานที่ต่าง ๆ 












แหล่งอ้างอิง
http://www.samsung.com/th/aboutsamsung/samsungelectronics/vision2020.html
http://www.thaiseoboard.com/index.php?topic=211116.0;wap2
https://www.facebook.com/samsungmobilethailand/?fref=ts#