วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

IMC สัปดาห์ที่ 5 SAMSUNG

Image result for samsung logo


SAMSUNG

SAMSUNG เป็นชื่อกลุ่มบริษัทแห่งหนึ่งจากประเทศเกาหลีใต้ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่โซล, ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งประกอบด้วยบริษัทย่อยจำนวนมาก และธุรกิจที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่อยู่ภายใต้แบรนด์ซัมซุง และเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้
ซัมซุงได้ก่อตั้งโดย ลี เบียงชอล ในปีพ.ศ. 2493 ในช่วงแรกของการทำธุรกิจนั้นได้เน้น ไปที่การส่งออกสินค้า, แปรรูปอาหาร, สิ่งทอ ซัมซุงเริ่มเข้ามาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ในปลายปี พ.ศ. 2503 หลังจากการจากไปของประธานผู้ก่อตั้ง ลี เบียงชอล ทำให้ซัมซุงได้แยกกลุ่มธุรกิจออกเป็น 4 กลุ่ม คือ Samsung Group, Shinsegae Group, CJ Group และ Hansol Group และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มา ซัมซุงได้เป็นที่รู้จักเป็นสากลมากขึ้นจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของบริษัทในปัจจุบัน



THE BEST SELLER 

SMARTPHONE
ซัมซุงนับว่าเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผลิตโทรศัพท์มือถือทั้งรุ่นปกติและแบบสมาร์ทโฟน ออกมาจำหน่ายหลากหลายรุ่น โดยมีส่วนแบ่งการตลาดระดับโลกอยู่ในอันดับต้น ๆ และมีรุ่น Flagship ที่เปิดตัวทุกปี ภายใต้ชื่อ Galaxy Note และ Galaxy S โดยในรุ่น Note จะมีปากกาที่เรียกว่า S Pen เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียน วาด บนหน้าจอ ในขณะที่รุ่น S จะเน้นการผลิตโดยใช้สเปคเครื่องที่สูงกว่ารุ่นอื่น ๆ ทั้งหมดที่ผลิตออกมา ทั้งรุ่น Note และ S นับเป็นคู่แข่งสำคัญของ iPhone ที่ผลิตโดย Apple Inc.


SMARTWATCH

ซัมซุงได้ออก Smartwatch ที่ใช้ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาเองรุ่นแรกในชื่อ Samsung Gear และหลังจากนั้นได้ทยอยออกรุ่นต่าง ๆ ตามมา เช่น Gear 2, Gear 2 Neo ที่คล้าย Gear 2 แต่ตัดฟังก์ชั่นกล้องออกไป, Gear Fit ที่เน้นสำหรับใส่ออกกำลังกาย Gear S ที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานโทรศัพท์ได้ในตัว จนล่าสุดเมื่อปี 2558 ได้ออกรุ่น Gear S2 และ Gear S2 Classic ที่ได้ปรับการใช้งานโดยสามารถหมุนหน้าจอเป็นวงกลมได้ ทำให้การใช้งานคล่องตัวมากกว่าเดิมและได้รับคำชมจากการสร้างวิธีการใช้งานที่แตกต่างจากยี่ห้ออื่นและสามารถทำให้ประสบการณ์การใช้งาน Smartwatch ดีขึ้นกว่าเดิม

Target group
ซัมซุงมีการแบ่งโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่มที่มีความต้องการแตกต่างกันไป เช่น
-กลุ่มผู้ที่ชื่นชอบแฟชั่น
-กลุ่มเทคโนโลยี
-กลุ่มที่ใช้งานในเชิงธุรกิจ


กลยุทธการสื่อสารทางการตลาดของ "SAMSUNG"

กลยุทธ์หลักของซัมซุง คือ การลอกเลียนจากต้นแบบแล้วมาพัฒนาให้เป็นของตน สังเกตได้จากข่าวที่มีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Apple  ที่ได้ทำการฟ้องร้องว่าซัมซุงละเมิดสิทธิบัตรของตน โดยเมื่อแอปเปิลเปิดตัว iPhone ครั้งแรก ซัมซุงได้นำคุณสมบัติของ iPhone มาเปรียบเทียบกับมือถือที่วางจำหน่ายอยู่ของตัวเองอย่างละเอียดถึงขั้นฟีเจอร์ต่อฟีเจอร์ และสุดท้ายซัมซุงก็พบว่า 126 ฟีเจอร์ของ iPhone เหนือกว่ามือถือของซัมซุง ณ​ เวลานั้น จนสุดท้ายก็เกิดมือถือตระกูล Galaxy S ขึ้น
ทั้งนี้ซัมซุงยังได้เตรียมกลยุทธ์ใหม่ นั่นคือ นวัตกรรมโปรดักส์ใหม่จำนวน 20 รุ่น ทั้งสมาร์ทโฟน และฟีเจอร์โฟน เจาะตลาดทุกเซกเมนต์ ซึ่งปัจจุบันซัมซุงมี 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ ตลาดคนเมืองหลวง และตลาดต่างจังหวัด ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนมูลค่าประมาณกลุ่มละ 50 เปอร์เซ็นต์ ควบคู่ไปกับ กลยุทธ์การพัฒนาช่องทางจำหน่ายให้ตอบโจทย์ลูกค้า โดยเน้นลงทุนปรับปรุงร้านจำหน่ายมือถือซัมซุงในเครือข่ายให้ลูกค้าสามารถเข้าไปศึกษาว่าสมาร์ทโฟนคืออะไร และสร้างประสบการณ์โดยตรงกับมือถือทั้งสมาร์ทโฟนและฟีเจอร์โฟน กว่า 300 - 400 ร้านค้า ซึ่งได้ล่วงหน้าดำเนินการไปแล้ว โดยจะส่งผลดีต่อการขายสินค้าในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ปัจจุบันโปรดักส์มือถือของซัมซุงตอบความต้องการตั้งแต่กลุ่มเอนทรี (Entry) กลุ่มมิทเทียร์ (Mid-Tier) และกลุ่มพรีเมียม (Premium) โดยเฉพาะกลุ่มเอนทรี และมิดเทียร์ เป็นกลุ่มที่ซัมซุงจะเน้นทำตลาดเพิ่มขึ้น

กลยุทธ์ต่อมา คือ การลดราคาอุปกรณ์มาแข่งขันเพื่อดึงลูกค้าในตลาดกลับคืน การตัดสินใจวางกลยุทธ์ราคาขายสมาร์ทโฟนระดับล่างให้ต่ำลงของซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ นับเป็นการเดิมพันเพื่อหวังเอาชนะคู่แข่งทั้งในท้องถิ่นและบริษัทข้ามชาติที่นำสมาร์ทโฟนเข้าไปทำตลาดในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่สำคัญๆ อย่าง เซี่ยวหมี่ คอร์ป ผู้ผลิตสัญชาติจีน ที่เปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมาพร้อมกับโพรเซสเซอร์ที่ใช้กับสมาร์ทโฟนระดับบนของซัมซุงแต่จำหน่ายในราคาเพียง 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 8,800 บาท) หรือแม้แต่แอปเปิลที่ก้าวเข้ามาแข่งขันด้วยไอโฟนรุ่นล่าสุดที่ตั้งราคาไว้ 399 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 14,000 บาท)
อีกทั้งยังมีปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้ซัมซุงสมาร์ทโฟนประสบความสำเร็จอย่างล้มหลามในช่วงแรก นั่นคือ กลยุทธ์พัฒนา Research&Development หรือด้านการค้นคว้าวิจัย (R&D) และการศึกษาถึงความต้องการของผู้บริโภค (Consumer Insight) ที่ช่วยให้ซัมซุงเข้าใจและสามารถตอบรับความต้องการได้อย่างตรงจุด
นอกจากนี้ กลยุทธ์พันธมิตร ในการส่งเสริมการตลาดและการขาย โดยซัมซุงร่วมมือกับโอเปอเรเตอร์ 3 รายใหญ่ ทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในประเทศไทยได้อย่างครอบคลุม พร้อมทั้งโปรโมชั่นพิเศษสุดจากโอเปอเรเตอร์แต่ละค่าย รวมถึงการสร้างกระแสความแรงของซัมซุงสมาร์ทโฟนในกลุ่มผู้นำความคิดในสังคมและสังคมออนไลน์ ซึ่งเราได้เห็น ชมพู่ อารยา เอฮาร์เก็ต เป็นพรีเซนเตอร์หลักของซัมซุงในหลายผลิตภัณฑ์แล้วในช่วงปีที่ผ่านมา นอกจากนี้บริเวณจุดขายของซัมซุงยังได้รับการออกแบบและตกแต่งอย่างพิถีพิถันเพื่อให้ผู้บริโภคได้สัมผัสประสบการณ์จากสมาร์ทโฟนซัมซุงได้อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งมีการฝึกอบรมพนักงานเพื่อคอยให้คำแนะนำและตอบข้อซักถามของผู้บริโภค

การโฆษณา การส่งเสริมการขาย และประชาสัมพันธ์

 ทางซัมซุงได้มีการลงโฆษณาผ่านช่องทางสื่อทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อมีเดีย สื่อออนไลน์ ฯลฯ


  •  Facebook เป็นช่องทางอัพเดพข้อมูลข่าวสารที่สำคัญของซัมซุงโมบาย และช่องทางการติดต่อสอบถามปัญหาต่างๆ นอกจากนี้ยังมีแคมเปญ กิจกรรมให้ร่วมสนุกอย่างต่อเนื่อง



  • Youtube สื่อวิดิโอจะอัพโหลดลงที่นี้ เพื่อทำการเผยแพร่ไปยังสื่อออนไลน์อื่น ๆ โดยจะใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ เช่น ชมพู่ อาร์ยา สแตมป์ แอน ทองประสม เต๋อ ฉันทวิทช์ เป็นต้น  ซึ่งนอกจากนี้ยังมีวิดีโอจากบุคคลทั่วไปที่ทำการรีวิวให้กับ Samsung อาจเป็นการส่งเครื่องให้ทดลองใช้ หรือแม้แต่การรีวิวที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริงของผู้ใช้


  • รีวิวตามเว็บไซต์ เช่น 








  • Instagram



  • เป็นผู้สนับสนุนผ่านซีรีย์ยอดฮิต







  • สื่อสิ่งพิมพ์ตามสถานที่ต่าง ๆ 












แหล่งอ้างอิง
http://www.samsung.com/th/aboutsamsung/samsungelectronics/vision2020.html
http://www.thaiseoboard.com/index.php?topic=211116.0;wap2
https://www.facebook.com/samsungmobilethailand/?fref=ts#






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น